ประชาคมอาเซี่ยน ไทยได้อะไร

  
 ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนคืออะไร มีเป้าหมายอย่างไรและไทยได้ประโยชน์อย่างไร
           ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็นเป้าหมายด้านเศรษฐกิจหลักที่สำคัญในการขับ เคลื่อนความร่วมมือระหว่างประเทศอาเซียน  ภายหลังการลงนามจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนก็มีความคืบหน้าที่ดีในความร่วม มือต่าง ๆ เป็นลำดับและในที่ สุดอาเซียนได้มุ่งหวังที่จะจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจในปี 2558  ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญคือการเป็นตลาดและเป็นฐานการผลิตร่วมกัน  โดยมีการเคลื่อนย้ายสินค้า  บริการ  การลงทุน  แรงงานฝีมืออย่างเสรีและเงินลงทุนที่เสรีมากขั้น  มีความสามารถในการแข่งขันสูง  มุ่งสร้างความเท่าเทียมในการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศอาเซียน  และการส่งเสริมการรวมกลุ่มอาเซียนเข้ากับประชาคมโลก ขนาดของตลาดอาเซียนที่ใหญ่ขึ้นทำให้อาเซียนมีอำนาจซื้อสูงขึ้นตามมา  เช่นเดียวกับความสามารถในการแข่งขันกับภูมิภาคอื่นที่เพิ่มขึ้น  ซึ่งช่วยให้สมาชิกสามารถปรับตัวเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์ ได้เป็นอย่างดี
การคมนาคมขนส่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนเป็นประโยชน์กับประชาชนอย่างแท้จริง  อา เซียนจึงมีโครงการเชื่อมโยงเส้นทางหลวงอาเซียน  มีความร่วมมือระหว่างประเทศในการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟจากสิงคโปร์ ผ่านไปยัง มาเลเซีย ไทย กัมพูชา เวียดนามและสิ้นสุดที่เมืองคุนหมิง ประเทศจีน นอกจากนี้ การปรับมาตรฐานของเส้นทางคมนาคมทางบกและทางรถไฟให้มีมาตรฐานเดียวกันก็จะส่ง เสริมความร่วมมือของอาเซียนด้านการท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้นด้วย
ขณะที่การ เจรจาเพื่อเปิดตลาดในระดับพหุภาคีภายใต้องค์การการค้าโลกยังมีท่าทีว่าจะไม่ สามารถสรุปผลได้ในอนาคตอันใกล้  ประเทศต่าง ๆ จึงได้พยายามที่จะทำข้อตกลงการค้าเสรีไม่ว่าจะในระดับทวีภาคี หรือระดับภูมิภาค ในส่วนของอาเซียนมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคโดยการจัดทำ เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area - AFTA หรือ อาฟต้า) มาแล้ว 15 ปี และเริ่มรวมตัวกับประเทศหรือกลุ่มคู่ค้าสำคัญ เช่น ญี่ปุ่น จีน เกาหลี สหภาพยุโรป ฯลฯ ความเหนียวแน่นใกล้ชิดระหว่างกันจะเสริมสร้างความเข้มแข็งให้อาเซียนสามารถ สร้างประโยชน์สูงสุดจากการรวมตัวกับประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ต่อไป
หากอาเซียน สามารถสร้างประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้สำเร็จ  ไทยจะได้ประโยชน์จากการขยายการส่งออกและโอกาสทางการค้า  และเปิดโอกาสการค้าบริการในสาขาที่ไทยมีความเข้มแข็ง เช่น ท่องเที่ยว โรงแรมและภัตตาคาร  สุขภาพ ฯลฯ  ซึ่งอาเซียนยังมีความต้องการด้านการบริการเหล่านี้อีกมาก  นอกจากนี้  ยังจะช่วยเสริมสร้างโอกาสในการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมายังอา เซียน  ซึ่งจะเพิ่มอำนาจการต่อรองของอาเซียนในเวทีการค้าโลก  และยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในอาเซียนโดยรวม



                  ทางด้านจ๊อบส์ ดีบี กระตุ้นทุกภาคส่วนเตรียมรับมือการเปิดเสรีแรงงาน หลังไทยจะเข้าสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 แนะแรงงานไทย โดยเฉพาะวิศวกร และคนไอที ฟิตภาษาอังกฤษเพื่อนำเสนองาน เพื่อเพิ่มทักษะการทำงาน…
นาง นพวรรณ จุลกนิษฐ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ภาพรวมตลาดแรงงานไทยในปีนี้เริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการทุกอุตสาหกรรมต่างเร่งฟื้นฟูธุรกิจ เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ส่งผลให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น และเปิดโอกาสให้ผู้หางานได้งานที่ดี บริษัทต่างๆ ก็จะได้เลือกสรรบุคลากรได้อย่างเต็มที่ ขณะที่ภาพรวมตลาดแรงงานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคไม่แตกต่างจากไทยนัก เพราะตลาดแรงงานจะผันแปรตามสภาพสังคม เศรษฐกิจและการเมือง แต่ที่เห็นได้ชัด ขณะนี้ คือ ประเทศพม่ากำลังจะกลายเป็นตลาดที่ประเทศต่างๆ ต้องการเข้าไปลงทุน เนื่องจากค่าแรงต่ำ เพียงแต่แรงงานในพม่ายังเป็นแรงงานขั้นพื้นฐานที่ไม่ต้องใช้ทักษะเฉพาะเท่า ที่ควร
ผจก.ทั่วไป บ.จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี กล่าวต่อว่า ประเด็นที่ต้องจับตา ขณะนี้ ไทยกำลังจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 นั่นหมายถึง ประเทศในอาเซียนจะสามารถเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตได้อย่างเสรี สามารถทำการผลิตที่ไหนก็ได้ โดยใช้ทรัพยากรจากแต่ละประเทศ ทั้งวัตถุดิบและแรงงาน มีมาตรฐานสินค้า กฎเกณฑ์ กฎระเบียบเดียวกัน เท่ากับว่าทุกภาคส่วนของไทย รวมถึงภาคแรงงานจะต้องตื่นตัว และเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ผู้หางานก็ต้องตื่นตัวด้วยเช่นกัน เพราะจะมีการเคลื่อนย้ายแรงงานได้อย่างเสรี ส่งผลให้คนที่มีศักยภาพหรือความสามารถที่โดดเด่นกว่าจะได้เปรียบในเรื่องการ หางาน โดยเฉพาะผู้ที่มีทักษะและมีความรู้ความสามารถที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นด้านภาษา ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญ ความชำนาญเฉพาะด้านในแต่ละสาขาอาชีพ ทักษะด้านการนำเสนอหรือประสานงาน ซึ่งหากผู้หางานมีสิ่งเหล่านี้ครบถ้วน ก็จะได้รับการพิจารณาก่อนเป็นอันดับต้นๆ
“ผลดีของการเคลื่อนย้ายแรง งานอย่างเสรีนั้น จะทำให้ตลาดแรงงานมีความยืดหยุ่นมากขึ้น มีการเคลื่อนย้ายเงินทุน การลงทุน แรงงานสามารถทำงานได้ในทุกประเทศในอาเซียน แต่จุดอ่อนโดยภาพรวมของแรงงานไทยคือ ภาษาอังกฤษ ทักษะในการนำเสนอ และทักษะในการติดต่อประสานงานกับแผนกอื่นๆ โดยเฉพาะคนที่จบในสายอาชีพที่มักถนัดการคิดวิเคราะห์ เช่น ไอที วิศวกร แต่มักจะขาดทักษะด้านการสื่อสาร การนำเสนอ ซึ่งความจริงแล้วควรมีทักษะทุกด้านรวมกัน แต่หากใครมีครบก็จะได้เปรียบ เพราะทุกองค์กรต้องการคนที่มีความสามารถหลากหลาย และทำได้หลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน” นางนพวรรณ กล่าว 
ผจก.ทั่วไป บ.จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ คนที่มีความสามารถของไทยเราเอง อาจมีการโยกย้ายไปทำงานต่างประเทศที่ให้ผลตอบแทนมากกว่า เช่น ประเทศสิงคโปร์ ทำให้ประเทศไทยผลิตคนมาทดแทนคนเหล่านั้นไม่ทัน รวมไปถึงแรงงานของประเทศเพื่อนบ้านก็จะหลั่งไหลเข้ามาทำงานในไทยมากขึ้นเช่น กัน เกิดการแข่งขันแย่งชิงตำแหน่งงาน เพราะฉะนั้น เพื่อป้องกันปัญหาความผันผวนด้านแรงงานที่จะเกิดขึ้น เราจึงต้องเตรียมความพร้อมให้ดีเสียแต่วันนี้ โดยเริ่มจากการพัฒนาศักยภาพคนภายในประเทศ และสวัสดิการที่ดีควบคู่กันไป ดังนั้นการเตรียมความพร้อมของตัวเองถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของผู้หางาน อันดับแรกที่ผู้หางานยุคประชาคมอาเซียนต้องเตรียมให้ดีที่สุด ก็คือ เรื่องภาษา เพราะเมื่อประเทศไทยก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแล้ว ภาษาอังกฤษจะถูกใช้เป็นภาษาหลัก ซึ่งหลายประเทศในแถบอาเซียนจะได้เปรียบกว่าเราในเรื่องนี้ เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย หรือฟิลิปปินส์ เป็นต้น
“นอกจากความพร้อมทางภาษาแล้ว ผู้หางานจะต้อง “รู้เราและรู้เขา” ควบคู่ กันไปด้วย – รู้เรา คือ ต้องรู้ว่าตนมีความชอบความถนัดเรื่องอะไร แล้วสร้างเป็นจุดแข็งที่จะทำให้หางานได้ตรงความต้องการ – ส่วนรู้เขา คือ ต้องรู้ว่าบริษัทที่อยากทำงานด้วยทำธุรกิจอะไร กำลังเปิดรับสมัครงานตำแหน่งอะไร ผู้บริหารเป็นใคร ผลิตภัณฑ์หลักคืออะไร คู่แข่งเป็นใคร มีส่วนแบ่งทางการตลาดเท่าไหร่ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้หลายคนอาจมองว่าเป็นเรื่องที่ลึกซึ้งเกินกว่าผู้สมัครงาน ตำแหน่งทั่วไปควรจะรู้ แต่ถ้ารู้ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทที่ต้องการไปทำงานด้วยมากเท่าไหร่ ก็จะสามารถตอบคำถามสัมภาษณ์ได้ดีมากขึ้น การเตรียมตัวจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการสมัครงาน ต้องอ่านรายละเอียดงาน (Job Description) ให้ชัดเจน แล้วพิจารณาว่าเป็นงานที่ต้องการจริงๆ หรือไม่ สามารถใช้ความรู้ ความสามารถ ความถนัด และทักษะที่มีอยู่ในการทำงานตำแหน่งนั้นได้ดีมากน้อยเพียงไร ซึ่งผู้สมัครงานคนไทยมักพลาดเรื่องการเตรียมความพร้อมมากที่สุด”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น