เกร็ดความรู้ ประชาคม อาเซี่ยน

เกร็ด ความรู้อาเซียน เรื่องที่ 1
ASEAN (อาเซียน) ย่อมาจาก Association of Southeast Asian Nations หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้  ประกอบด้วย 10 ประเทศ คือ
           1. กัมพูชา
             2. ไทย
           3. บรูไนดารุสซาลาม
           4. พม่า
           5. ฟิลิปปินส์
           6. มาเลเซีย
           7. ลาว
           8. สิงคโปร์
           9. เวียดนาม
           10. อินโดนีเซีย

เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 2
เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของอาเซียน 
        1) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร
        2) เพื่อส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
        3) เพื่อเสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและพัฒนาการทางวัฒนธรรมใน ภูมิภาค
        4) เพื่อเสริมสร้างให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
        5) เพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปแบบของการฝึกอบรมและการวิจัยและส่ง เสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
        6) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
        7) เพื่อส่งเสริมความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ และองค์การระหว่างประเทศ

เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 3
 รู้จักเพื่อนบ้านอา เซียน 
คลิ๊ก ที่นี่เพื่อดูรายละเอียด

เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 4
อาเซียน +3 และ อาเซียน +6 คืออะไร ?
อา เซียน +3 คือ กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และ 3 ประเทศนอกอาเซียน ได้แก่
           1) จีน
           2) ญี่ปุ่น
              3) เกาหลีใต้
อาเซียน +6 คือ กลุ่ม ประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และ 6 ประเทศนอกอาเซียน ได้แก่
           1) จีน
           2) ญี่ปุ่น
           3) เกาหลีใต้
              4) ออสเตรเลีย
              5) นิวซีแลนด์
           6) อินเดีย


เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 5
7 วิชาชีพที่สามารถย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรีในประชาคมอาเซียน
            1. แพทย์
            2. ทันตแพทย์
            3. นักบัญชี
            4. วิศวกร
            5. พยาบาล
            6. สถาปนิก
            7. นักสำรวจ

เกร็ด ความรู้อาเซียน เรื่องที่ 6
เพลงประจำอาเซียน 
“The ASEAN Way
เป็น ผลงานจากประเทศไทยที่ชนะเลิศจากการแข่งขันระดับภูมิภาคอาเซียน ประพันธ์โดยนายกิตติคุณ สดประเสริฐ (ทำนองและเรียบเรียง) ได้เริ่มใช้บรรเลงอย่างเป็นทางการครั้งแรกในพิธีเปิดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ใน วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552 ที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
เนื้อ ร้อง
Raise our flag high, sky high
Embrace the pride in our heart
ASEAN we are bonded as one
Look-in out-ward to the world.
For peace, our goal from the very start
And prosperity to last.
WE dare to dream we care to share.
Together for ASEAN
We dare to dream,
We care to share for it's the way of ASEAN.
 เนื้อร้อง ภาษาไทย
พลิ้วลู่ลม โบกสะบัด ใต้หมู่ธงปลิวไสว

สัญญาณแห่ง สัญญาทางใจ
วันที่เรามาพบกัน
อาเซียน เป็นหนึ่ง ดังที่เราปรารถนา
เราพร้อมเดินหน้าไปตรงนั้น
หล่อหลวมจิตใจ ให้เป็นหนึ่งเดียว
อาเซียนยึดเหนี่ยวสัมพันธ์
ให้สังคมนี้ มีแต่แบ่งปัน
เศรษฐกิจ มั่นคง ก้าวไกล
สามารถฟังเพลง The ASEAN Way ได้จาก
http://www.youtube.com/watch?v=TcpoRAA-kCg&feature=related

เกร็ด ความรู้อาเซียน เรื่องที่ 7
อาหารยอดนิยมในอาเซียน (1) 
“อัมบูยัต”(Ambuyat)
ambuyat-set
อาหาร ยอดนิยมของประเทศบรูไนดารุสซาลาม  
       มี ลักษณะเด่นคือ เหนียวข้นคล้ายข้าวต้มหรือโจ๊ก ไม่มีรสชาติ มีแป้งสาคูเป็นส่วนผสมหลัก วิธีทานจะใช้แท่งไม้ไผ่ 2 ขาซึ่งเรียกว่า chandas ม้วนแป้งรอบๆ แล้วจุ่มในซอสผลไม้เปรี้ยวที่เรียกว่า cacah หรือซอสที่เรียกว่า cencalu ซึ่งทำจากกะปิ ทานคู่กับเครื่องเคียงอีก 2-3 ชนิด เช่น เนื้อห่อใบตองย่าง เนื้อทอด เป็นต้น การรับประทานอัมบูยัตให้ได้รสชาติ ต้องทานร้อนๆ และกลืน โดยไม่ต้องเคี้ยว
ambuyat01 
เกร็ด ความรู้อาเซียน เรื่องที่ 8
อาหารยอดนิยม ในอาเซียน (2)
“อาม็อก”(Amok)
fish-amok
อาหารยอดนิยม ของประเทศกัมพูชา  
        มี ลักษณะคล้ายห่อหมกของไทย นิยมใช้เนื้อปลาปรุงด้วยน้ำพริก เครื่องแกงและกะทิ ทำให้สุกโดยการนำไปนึ่ง อาจใช้เนื้อไก่หรือหอยแทนได้ แต่ที่นิยมใช้เนื้อปลาเพราะหาได้ง่าย
amokincoconut

เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 9
อาหารยอดนิยม ในอาเซียน (3)
“กาโด กาโด”(Gado Gado)
gado-gado
อาหารยอดนิยม ของอินโดนีเซีย  
     อาหาร สำหรับผู้ที่รักสุขภาพ ประกอบไปด้วยผักและธัญพืช เช่น มันฝรั่ง กะหล่ำปลี ถั่วงอก ถั่วเขียว เสริมโปรตีนด้วยเต้าหู้และไข่ต้ม รับประทานคู่กับซอสถั่วที่คล้ายกับซอสสะเต๊ะ ซึ่งใกล้เคียงกับสลัดแขก ของประเทศไทย
photo_-gado_gado

เกร็ด ความรู้อาเซียน เรื่องที่ 10
อาหารยอดนิยม ในอาเซียน (4)
“ซุปไก่”(Chicken Soup) 
soup
อาหารยอดนิยม ของลาว  
       แกง รสชาติหวานอร่อยกลมกล่อม ที่มีส่วนผสมสำคัญ ได้แก่ ตะไคร้ ใบสะระแหน่ กระเทียม หอมแดง รวมถึงรสชาติเปรี้ยว เผ็ด จากมะนาวและพริก รับประทานร้อนๆ กับข้าวเหนียว ได้คุณค่าทางโภชนาการอาหารและความอร่อยไปพร้อมๆ กัน
soup01


เกร็ด ความรู้อาเซียน เรื่องที่ 11
มรดกโลกในอาเซียน (1)
 "อ่าวฮาลอง" (Halong Bay)
halong_bay
      อ่าวฮาลอง (Vịnh Hạ Long) หรือ ฮาลอง เบย์ (Halong Bay) เป็นอ่าวแห่งหนึ่งในพื้นที่ของอ่าวตังเกี๋ยทางตอนเหนือของสาธารณรัฐ สังคมนิยมเวียดนาม ใกล้ชายแดนติดต่อกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ชื่อในภาษาเวียดนาม หมายถึง "อ่าวแห่งมังกรผู้ดำดิ่ง"
      อ่าว ฮาลองมีเกาะหินปูนจำนวน 1,969 เกาะ โผล่พ้นขึ้นมาจากผิวทะเล บนยอดของแต่ละเกาะมีต้นไม้ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น หลายเกาะมีถ้ำขนาดใหญ่อยู่ภายใน เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบริเวณอ่าว 2 เกาะ คือ เกาะกัดบา และเกาะ Tuan Chau ทั้งสองเกาะนี้มีคนตั้งถิ่นฐานอยู่อย่างถาวร มีโรงแรมและชายหาดจำนวนมากคอยให้บริการนักท่องเที่ยว บางเกาะเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวประมง และบางเกาะยังเป็นถิ่นอาศัยของสัตว์หลายชนิด เช่น ไก่ป่า ละมั่ง ลิง และกิ้งก่าหลายชนิด เกาะเหล่านี้มักจะได้รับการตั้งชื่อจากรูปร่างลักษณะที่แปลกตา เช่น เกาะช้าง (Voi Islet) เกาะไก่ชน (Ga Choi Islet) เกาะหลังคา (Mai Nha Islet) เป็นต้น
      อ่าว ฮาลองได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2537


เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 12
ภาษาน่ารู้อาเซียน
คลิ๊ก ที่นี่เพื่อดูรายละเอียด


เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 13
การ ศึกษาของประชาคมอาเซียน
คลิ๊ก ที่นี่เพื่อดูรายละเอียด


เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 14
ข้อมูลประเทศในอาเซียนที่ควรรู้ (1)
เนการาบรูไนดา รุสซาลาม (NEGARA BRUNEI DARUSSALAM)
flag-brunei-darussalam
พื้นที่:  5,765 ตารางกิโลเมตร  ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว
เมืองหลวง :  บันดาร์ เสรี เบกาวัน
ประชากร:  395,027 คน
ภาษาราชการ :  มาเลย์ (Malay หรือ Bahasa Melayu)
ศาสนา:  อิสลาม (67%) พุทธ (13%) คริสต์ (10%) และฮินดู (10%)
ระบอบการปกครอง :  สมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีเป็นองค์ประมุขผู้นำรัฐบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
วันชาติ  23 กุมภาพันธ์
หน่วยเงินตรา บรูไนดอลลาร์ ( 1 บรูไนดอลลาร์ ประมาณ 24.07 บาท)
ดอกไม้ประจำชาติ  :  ดอก Simpor (Dillenia Suffruticosa) เป็นดอกไม้ที่มีกลีบดอกขนาดใหญ่สีเหลือง เมื่อบานเต็มที่กลีบดอกจะบานคล้ายกับร่ม
simpor
ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
  •      สินค้านำเข้าสินค้า : เครื่องจักรอุตสาหกรรม รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าเกษตร อาที ข้าวและผลไม้
  •      สินค้าส่งออกสำคัญ : น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ
  •      ตลาดส่งออกที่สำคัญ : ญี่ปุ่น อาเซียน เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย
  •      ตลาดนำเข้าที่สำคัญ : อาเซียน สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น


เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 15
ข้อมูลประเทศในอาเซียนที่ควรรู้ (2)
ราชอาณาจักร กัมพูชา (KINGDOM OF CAMBODIA)
flag-cambodia
พื้นที่ : 181,035 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ
ประชากร : 14.45 ล้านคน
ภาษาราชการ : ภาษาเขมร
ศาสนา : พุทธเถรวาท (มหานิกาย 90% และธรรมยุตินิกาย 10%)
ระบอบการปกครอง : ระบอบ ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
ประมุข : พระบาทสมเด็จพระ บรมนาถนโรดม สีหมุนี
วันชาติ : 9 พฤศจิกายน
หน่วยเงินตรา : เรียล  (1 เรียล ประมาณ 0.0083 บาท)
ดอกไม้ประจำชาติ  : ดอก Rumdul หรือดอกลำดวน เป็นดอกสีขาวเหลืองอยู่บนใบเดี่ยว มีกลิ่นหอมช่วงเวลาค่ำ
rumdul
ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
  •     สินค้านำเข้าสำคัญ : ผลิตภัณฑ์ ปิโตรเลียม วัสดุก่อสร้าง เครื่องจักร ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องดื่ม ผ้าผืน และผลิตภัณฑ์ยาง
  •     สินค้าส่งออกสำคัญ :  เสื้อผ้า สิ่งทอ รองเท้า ปลา ไม้ ยางพารา บุหรี่ และข้าว
  •     ตลาดส่งออกที่สำคัญ:  สหรัฐอเมริกา เยอรมนี สหราชอาณาจักร แคนาดา และเวียดนาม
  •     ตลาดนำเข้าที่สำคัญ : จีน ฮ่องกง เวียดนาม ไทย และไต้หวัน
  •  


เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 16
ข้อมูลประเทศในอาเซียนที่ควรรู้ (3)
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (REPUBLIC OF INDONESIA)
flag-indonesia
พื้นที่ : 5,070,606 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง: กรุงจาการ์ตา
ประชากร : 245.5 ล้านคน
ภาษาราชการ : บาร์ฮาซา อินโดนีเซีย
ศาสนา : อิสลาม (88%) คริสต์ (8%) ฮินดู (2%) พุทธ (1%) อื่นๆ (1%)
ระบอบการปกครอง : ระบอบสาธารณรัฐแบบประชาธิปไตย มีประธานาธิบดีเป็นประมุข
ประมุข : ดร. ซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน
วันชาติ : 17 สิงหาคม
หน่วยเงินตรา: รูเปียห์  (10,000 รูเปียห์ ประมาณ 38 บาท)
ดอกไม้ประจำชาติ : ดอก Moon Orchid หรือกล้วยไม้ราตรี เป็นกล้วยไม้สายพันธ์ Phalaenopsis Amabilis
moon_orchid
ข้อมูลทางเศรษฐกิจ 
  •     สินค้านำเข้าสำคัญ: น้ำมัน เหล็ก ท่อเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก สิ่งทอ เคมีภัณฑ์ 
  •     สินค้าส่งออกที่สำคัญ: ก๊าซธรรมชาติ แร่ธาตุ ถ่านหิน ผลิตภัณฑ์จากไม้  
  •     ตลาดนำเข้าที่สำคัญ: สิงคโปร์ ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา 
  •     ตลาดส่งออกสินค้าที่สำคัญ : EU ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน สิงคโปร์
  •  

เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 17
ข้อมูลประเทศในอาเซียนที่ควรรู้ (4)
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
(THE LAO PEOPLE'S DEMOCRATIC REPUBLIC)
flag-lao_pdr
พื้นที่ : 236,880 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทร์
ประชากร : ประมาณ 6 ล้านคน
ภาษาราชการ : ภาษาลาว
ศาสนา : พุทธ (75%) อื่นๆ (16-17%)
ระบอบการปกครอง : ระบอบสังคมนิยม
ประมุข: พลโท จูมมาลี ไซยะสอน  ประธานประเทศ สปป. ลาว
วันชาติ : 2 ธันวาคม
หน่วยเงินตรา : กีบ (1 บาท เท่ากับประมาณ 250 กีบ)                   
ดอกไม้ประจำชาติ : ดอก Champa หรือดอกลีลาวดี มีกลิ่นหอมและมีหลายสี เช่น สีแดง สีเหลือง สีชมพู และโทนสีอ่อนต่างๆ เป็นตัวแทนของความจริงใจและความสุขในชีวิต
champa
ข้อมูลทางเศรษฐกิจ 
  • สินค้านำเข้าสำคัญ : รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องอุปโภคบริโภค 
  • สินค้าส่งออกที่สำคัญ : ไม้ซุง ไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ไม้ สินแร่ เศษโลหะ ถ่านหิน เสื้อผ้าสำเร็จรูป 
  • ตลาดนำเข้าที่สำคัญ : ไทย จีน เวียดนาม สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เยอรมนี 
  • ตลาดส่งออกสินค้าที่สำคัญ : ไทย เวียดนาม ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เยอรมนี สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์
  •  

เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 18
ข้อมูลประเทศในอาเซียนที่ควรรู้ (5)
มาเลเซีย ( MALAYSIA)
flag-malaysia
พื้นที่: 329,758  ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง: กรุงกัวลาลัมเปอร์
ประชากร : 28.9 ล้านคน
ภาษาราชการ : มาเลย์
ศาสนา : อิสลาม (60%)  พุทธ (19%) คริสต์ (12%) อื่นๆ (9%)
ระบอบการปกครอง : สหพันธรัฐ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีเป็นประมุข
ประมุข : สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านตวนกู อับดุล ฮาลิม มูอัซซอม ซาห์
วันชาติ : 31 สิงหาคม
หน่วยเงินตรา : ริงกิต (1 ริงกิตประมาณ 10.22 บาท)
ดอกไม้ประจำชาติ : ดอก Bunga raya หรือดอกพู่ระหง โดยทั้ง 5 กลีบดอกเป็นตัวแทน 5 หลักการแห่งความเป็นชาติของมาเลเซีย ซึ่งเป็นปรัชญาเพื่อเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นและความอดทนในชาติ
bunga raya
ข้อมูลทางเศรษฐกิจ 
  • สินค้านำเข้าสำคัญ : ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรอุตสาหกรรม สินค้าแปรรูป สินค้าอาหาร 
  • สินค้าส่งออกที่สำคัญ : อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติเหลว ปิโตรเลียม เฟอร์นิเจอร์ ยา น้ำมันปาล์ม 
  • ตลาดนำเข้าที่สำคัญ : ญี่ปุ่น จีน สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา ไต้หวัน ไทย
  • ตลาดส่งออกสินค้าที่สำคัญ : สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ ญี่ปุ่น จีน ไทย ฮ่องกง



  เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 19
ข้อมูลประเทศในอาเซียนที่ควรรู้ (6)
สาธารณรัฐ แห่งสหภาพเมียนมาร์
 (REPUBLIC OF THE UNION OF THE MYANMAR)
 flag-myanmar
พื้นที่: 657,740  ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง : นครเนปิดอร์
ประชากร : 57.5 ล้านคน
ภาษาราชการ  พม่า
ศาสนา : พุทธ (90%) คริสต์ (5%) อิสลาม (3.8%) ฮินดู (0.05%)
ระบอบการปกครอง : ระบบประธานาธิบดี
ประมุข : พลเอก เต็ง เส่ง
วันชาติ : 4 มกราคม
หน่วยเงินตรา : จั๊ต (1 USD ประมาณ 1,200 จั๊ต)
ดอกไม้ประจำชาติ : ดอก Paduak หรือดอกประดู่ ผลิดอกสีเหลืองทอง และส่งกลิ่นหอมหลังฤดูฝนแรกของเดือนเมษายน
pradoo2
ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
  • สินค้านำเข้าสำคัญ : ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรอุตสาหกรรม สินค้าแปรรูป สินค้าอาหาร
  • สินค้าส่งออกที่สำคัญ : ก๊าซธรรมชาติ สิ่งทอ ไม้ซุง
  • ตลาดนำเข้าที่สำคัญ : จีน สิงคโปร์ ไทย
  • ตลาดส่งออกสินค้าที่สำคัญ : ไทย อินเดีย จีน



เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 20
 
ข้อมูลประเทศในอาเซียนที่ควรรู้ (7)
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (REPUBLIC OF THE PHILIPPINES)
flag-philippines
พื้นที่ : 298,170  ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง : กรุงมะนิลา
ประชากร : 98 ล้านคน
ภาษาราชการ : ตากาล๊อก และภาษาอังกฤษ
ศาสนา : โรมันคาทอลิก (83%) โปรเตสแตนท์ (9%) อิสลาม (5%) อื่นๆ (3%)
ระบอบการปกครอง : สาธารณรัฐเดี่ยวระบบประธานาธิบดี
ประมุข : เบนิกโน อากีโน ที่ 3
หน่วยเงินตรา : เปโซ ( 100 เปโซ ประมาณ 49 บาท)
ดอกไม้ประจำชาติ : ดอก Sampaguita Jasmine มีกลีบดอกรูปดาวสีขาวที่บานตลอดปี แย้มดอกตอนกลางคืน และมีกลิ่นหอม
jasmine
ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
  • อุตสาหกรรมหลัก : เสื้อผ้า ยา เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ไม้ และอาหารแปรรูป
  • ตลาดนำเข้าที่สำคัญ : สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ไต้หวัน จีน เกาหลีใต้
  • ตลาดส่งออกสินค้าที่สำคัญ : สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน เนเธอร์แลนด์ ฮ่องกง สิงคโปร์


เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 21
ข้อมูลประเทศในอาเซียนที่ควรรู้ (8)
สาธารณรัฐสิงคโปร์ (REPUBLIC OF SINGAPORE)
flag_singapore
พื้นที่: 694.4  ตาราง กิโลเมตร
เมืองหลวง : สิงคโปร์ 
ประชากร : 4.6 ล้านคน
ภาษาราชการ : ภาษาอังกฤษ ภาษาจีนกลาง ภาษามาเลย์ ภาษาทมิฬ
ศาสนา : พุทธ (42.5%) อิสลาม (14.9%) คริสต์ (14.6%) ฮินดู (4%) ไม่นับถือศาสนา (24%)
ระบอบการปกครอง : ระบบสาธารณรัฐแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุข
ประมุข : นายโทนี่ ตัน เค็ง ยัม
นายกรัฐมนตรี : ลี เซียนลุง 
หน่วยเงินตรา : ดอลลาร์สิงคโปร์ ( 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ ประมาณ 24.39 บาท)
ดอกไม้ประจำชาติ : ดอก Vanda Miss Joaquim เป็นดอกกล้วยไม้ซึ่งเป็นที่รู้จักมากที่สุดในประเทศสิงคโปร์ โดยตั้งชื่อตามผู้ผสมพันธุ์ มีสีม่วงและรูปลักษณ์ที่สวยงาม
vanda_miss_joaquim
ข้อมูลทางเศรษฐกิจ 
  • อุตสาหกรรมหลัก : การผลิต การก่อสร้าง การคมนาคมขนส่งและโทรคมนาคม การเงินและการธนาคาร การบริการอื่นๆ
  • สินค้าส่งออกที่สำคัญ : เครื่องจักรกล เครื่องใช้ไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ เสื้อผ้า
  • สินค้านำเข้าที่สำคัญ : เครื่องจักรกล ชิ้นส่วนอุปกรณ์ ไฟฟ้า น้ำมันดิบ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์อาหาร
  • ตลาดนำเข้าที่สำคัญ : มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และไทย
  •  


เกร็ด ความรู้อาเซียน เรื่องที่ 22
ข้อมูลประเทศในอาเซียนที่ควรรู้ (9)
ราชอาณาจักรไทย (KINGDOM OF THAILAND)
flag-thailand
พื้นที่ : 513,115.02 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง : กรุงเทพ มหานคร 
ประชากร : ประมาณ 64 ล้านคน
ภาษาราชการ : ภาษา ไทย
ศาสนา : พุทธ (94.6%) อิสลาม (4.6%) คริสต์ (0.7%) อื่นๆ (0.1%)
ระบอบการปกครอง : ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ประมุข : พระ บาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
หน่วยเงินตรา : บาท 
ดอกไม้ประจำชาติ : ดอก Ratchaphruek หรือราชพฤกษ์ มีช่อดอกสีเหลืองที่สวยงาม ชาวไทยถือว่าสีเหลืองของดอกไม้ชนิดนี้ คือ สีของพระพุทธศาสนา และความรุ่งโรจน์
ratchaphruek
ข้อมูลทางเศรษฐกิจ 
  • สินค้าส่งออกที่สำคัญ : เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบแผงวงจรไฟฟ้า ยางพารา เม็ดพลาสติก อัญมณีและเครื่องประดับ น้ำมันสำเร็จรูป เหล็ก เหล็กกล้า ผลิตภัณฑ์เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ ส่วนประกอบเคมีภัณฑ์ และข้าว
  • สินค้านำเข้าที่สำคัญ : น้ำมันดิบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ สินแร่โลหะอื่นๆ อัญมณี เงินแท่งและทองคำ
  • ตลาดนำเข้าที่สำคัญ : ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
  • ตลาดส่งออกที่สำคัญ : สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน สิงคโปร์ ฮ่องกง
  •  


เกร็ดความ รู้อาเซียน เรื่องที่ 23
ข้อมูลประเทศในอาเซียนที่ควรรู้ (10)
สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (SOCIALIST REPUBLIC OF VIETNAM)
flag-vietnam
พื้นที่ : 331,690 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง : กรุง ฮานอย 
ประชากร : ประมาณ 89.57 ล้านคน
ภาษาราชการ : ภาษาเวียดนาม
ศาสนา : พุทธ (มหายาน)                         
ระบอบการปกครอง : ระบอบสังคมนิยม
ประธานาธิบดี : เจือ ง เติ๋น ซาง
หน่วยเงินตรา : ด่อง ( 1,000 ด่อง ประมาณ 1.10 บาท)
วันชาติ : 2 กันยายน
ดอกไม้ประจำชาติ : ดอก Lotus หรือ ดอกบัว สำหรับชาวเวียดนามแล้ว ดอกบัวคือสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ ความผูกพัน และการมองโลกในแง่ดี เป็น 1 ใน 4 พันธ์ไม้ที่มีความสง่างามของชาวเวียดนาม ซึ่งประกอบด้วย ต้นสน ต้นไผ่ ต้นเบญจมาศ และดอกบัว
lotus
ข้อมูลทางเศรษฐกิจ 
  • สินค้าส่งออกที่สำคัญ : น้ำมันดิบ เสื้อผ้าและสิ่งทอ อาหารทะเล ยางพารา ข้าว กาแฟ รองเท้า
  • สินค้านำเข้าที่สำคัญ : วัตถุดิบ วัสดุสิ่งทอ เครื่องหนัง เครื่องจักร ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
  • ตลาดนำเข้าที่สำคัญ : สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ จีน
  • ตลาดส่งออกที่สำคัญ : ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป



  เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 24
"ภาษาบอกรัก" ในอาเซียน
     เนื่องในวันแห่งความรัก (14 ก.พ.) หรือวันวาเลนไทน์ เกร็ดความรู้อาเซียน ขอเสนอ “ภาษาบอกรัก” ของประเทศต่างๆ ในอาเซียน และยังสามารถใช้บอกกับทุกคนที่คุณรักได้อีกด้วย  
ภาษาไทย                 - ฉันรักเธอ 
ภาษาลาว                 - ข้อยฮักเจ้า
ภาษาพม่า                - จิต พา เด (chit pa de)
ภาษาเวียดนาม          - ตอย ยิ่ว เอ๋ม (Toi yue em)
ภาษาเขมร               - บอง สรัน โอง (Bon sro Ianh oon)
 ภาษามาเลย์              - ซายา จินตามู (Saya cintamu)
 ภาษาอินโดนีเซีย        ซายา จินตา ปาดามู (Saya cinta padamu)
 ภาษา ตากาล็อก          - มาฮัล กะ ตา (Mahal ka ta)
 ภาษาจีนกลาง           - หว่อ อ้าย หนี่ (Wo ai ni)
 ภาษาญี่ปุ่น               - ไอ ชิเตรุ (Ai shiteru)
 ภาษาเกาหลี             - ซารัง แฮโย (Sarang Heyo)

แหล่งข้อมูล : www.dek-d.com 
heartlove


เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 25
มรดกโลกในอาเซียน (2)
อุทยานแห่งชาติกูนุงมูลู (Gunung Mulu National Park)
gunung_mulu_national_park-karst_topography-image  gunung-mulu-national-park-borneo-gohoto
      อุทยานแห่งชาติกุนุงมูลู (Gunung Mulu National Park) เป็นอุทยานที่ตั้งอยู่ในบนเกาะบอร์เนียว รัฐซาราวัก ประเทศมาเลเซีย ติดกับชายแดนของประเทศบรูไน เป็นพื้นที่ที่มีความ หลากหลายในด้านชีววิทยาและธรณีวิทยาเป็นอย่างมาก มีพันธุ์พืชกว่า 3,500 ชนิด และมีพันธุ์ปาล์มกว่า 109 ชนิด ในด้านธรณีวิทยาเป็นภูมิประเทศแบบ Karst หรือภูมิประเทศแบบหินปูน มีพื้นที่สูงๆ ต่ำๆ หน้าผาสูงชัน ยอดแหลม มักพบรอยแตกกว้างซึ่งกลายเป็นถ้ำในแนวดิ่งหรือแนวเฉียง ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นโพรงยาว ปากถ้ำแคบ ภายในถ้ำกว้าง ผนังและเพดานถูกปกคลุมด้วยหินงอกหินย้อย และเกิดถ้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ในอุทยานแห่งนี้ คือ “ถ้ำซาราวัค แซมเบอร์ (Sarawak chamber) ซึ่งมีความยาว 700 เมตร กว้าง 396 เมตร และสูง 80 เมตร คำนวณพื้นที่แล้วสามารถบรรจุเครื่องบิน Boeing 747 จำนวนหลายลำได้เลยทีเดียว
      อุทยานแห่งชาติกุนุงมูลู ได้รับการลงทะเบียนมรดกโลก ในปี พ.ศ. 2543
the-sarawak-chamber-in-the-gunung-mulu-national-pa
sarawakchamber
แหล่งข้อมูลและรูปภาพ : www.wikipedia.org , www.mulucaves.org
กลับ ขึ้นด้านบน


เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 26
มรดก โลกในอาเซียน (3)
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่ นเรศวรและห้วยขาแข้ง
(Thungyai-Huai Kha Khaeng Wildlife Sanctuaries)
Thungyai-Huai_Kha_Khaeng
     เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง เป็น สถานที่ธรรมชาติแห่งแรกของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียออกเฉียงใต้ที่ได้เป็นมรดกโลกในปี พ.ศ.2534 ประกอบด้วยผืนป่าอนุรักษ์ 3 แห่ง ได้แก่  เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าด้านตะวันออก และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ครอบคลุมพื้นที่กว้างใหญ่ถึง 6,222 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,888,875 ไร่  อยู่ ภายในเขตจังหวัดอุทัยธานี จังหวัดตาก จังหวัดกาญจนบุรี เป็นป่าอนุรักษ์ที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุดและมีชื่อเสียงที่สุดของประเทศ ไทย ซึ่งผู้มีส่วนสำคัญในการอนุรักษ์เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและ ห้วยขาแข้งแห่งนี้ คือ คุณสืบ นาคะเสถียร
    มีอาณาเขตทอดยาวอยู่บนแนวเทือกเขาถนน ธงชัยเชื่อมต่อกับตอนเหนือของเทือกเขาตะนาวศรี พื้นที่ส่วนใหญ่จึงเป็นภูเขา สลับซับซ้อนและเป็นต้นธารของแม่น้ำแควใหญ่และแควน้อย เป็นแหล่งรวมความหลากหลายทางชีวภูมิศาสตร์ ถึง ๔ เขต รวมทั้งเป็นที่อยู่อาศัยของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ที่อุดมสมบูรณ์ (77% ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ 50% ของนก และ 33% ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์) โดยที่ราบฝั่งตะวันออกในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร เป็นบริเวณที่โดดเด่นที่สุด เป็นตัวแทนระบบนิเวศป่าเขตร้อนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความอุดมสมบูรณ์ และปลอดภัยที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
thungyai-huai kha khaeng 04
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลและรูป ภาพ
www.thaiwhic.go.th    ศูนย์ข้อมูลมรดกโลก
www.seub.or.th   มูลนิธิสืบนาคะเสถียร


เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 27
มรดกโลกในอาเซียน (4)
นาขั้นบันไดแห่งเทือกเขา ฟิลิปปินส์
(Rice Terraces of the Philipine Cordilleras)
Rice_Terraces 
      นาขั้นบันไดแห่งเทือกเขาฟิลิปปินส์ตั้งอยู่ที่เกาะลูซอนตอนเหนือ ของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์  โดยชาวพื้นเมืองอิฟูเกา (Ifugao) ที่สร้างนาขั้นบันไดแห่งนี้มากว่า 2,000 ปีแล้ว ด้วยเครื่องมือที่เรียบง่ายและแรงงานคน ซึ่งลูกหลานชาวนาสืบเชื้อสาย มาจากชาว Ifugao ในปัจจุบันก็ยังคงยึดอาชีพทำนาเช่นเดียวกับบรรพบุรุษของพวกเขา โดยความ รู้นี้ได้ถูกส่งต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น และ การแสดงออกของประเพณีอันศักดิ์สิทธิ์ และความสมดุลของสังคมที่ละเอียดอ่อน ได้ช่วยกันสร้างสรรค์ความงามของภูมิทัศน์ ซึ่งแสดงถึงความกลมกลืนระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม

      จุดเด่นของที่นี่ คือเป็นสุดยอดทั้งในเรื่อง "ความสูง" เนื่องจากอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 1,500 เมตร และ "ความเอียงของพื้นที่" จุดที่ลาดชันมากที่สุดเอียงถึง 70 องศา และ ครอบคลุมพื้นที่กว่า 10,000 ตารางกิโลเมตร นอก จากนี้ยังมีระบบการทำเขื่อนกั้นน้ำและการระบายน้ำที่ซับซ้อน โดยใช้เพียงท่อที่ทำจากไม้ไผ่เป็นตัวกั้นน้ำให้ผืนนาขั้นบันไดทั้งหมดมีน้ำ ท่วมขังเพียงพอสำหรับการทำนาข้าวอันน่าทึ่งนี้ได้ตลอดมา
     นาขั้นบันไดแห่งเทือกเขาฟิลิปปินส์ ได้รับการลงทะเบียนมรดกโลก ในปี พ.ศ. 2538

แหล่งข้อมูลและรูปภาพ
www.thaiwhic.go.th  ศูนย์ ข้อมูลมรดกโลก
http://travel.thaiza.com/

เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 28
หน่วยเงินตราของประเทศใน ภูมิภาคอาเซียน
คลิ๊กที่นี่เพื่อดูรายละเอียด


เกร็ด ความรู้อาเซียน เรื่องที่ 29
มรดกโลก ในอาเซียน (5)
กลุ่ม วัดบรมพุทโธ (Borobuder Temple Compounds)
borobudur_byyak01
      มหาสถูปบุโรพุทโธ หรือ บรมพุทโธ (ภาษาอินโดนีเซีย: Chandi Borobudur) เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ในภาคกลางของเกาะชวา โดยบุโรพุทโธเป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธนิกายมหายาน ถ้าไม่นับนครวัดของกัมพูชาซึ่งเป็นทั้งศาสนสถานของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและ ศาสนาพุทธ บุโรพุทโธจะเป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธที่ใหญ่ที่สุดในโลก
     บุโรพุทโธถูกสร้างขึ้นโดยกษัตริย์แห่งราชวงศ์ไศเลนทร เป็นสถูปแบบมหายาน สันนิษฐานว่าสร้างในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 7-9 หรือ พุทธศักราช 1393 ตั้งอยู่ทางภาคกลางของเกาะชวา บนที่ราบเกฑุ  ทางฝั่งขวาใกล้กับแม่น้ำโปรโก ห่างจากยอกยาการ์ตา ทางตะวันตกเฉียงเหนือ 40 กิโลเมตร บุโรพุทโธสร้างด้วยหินภูเขาไฟประมาณ 2 ล้านตารางฟุตบนฐานสี่เหลี่ยม กว้างด้านละ 121 เมตร สูง 403 ฟุต เป็นรูปทรงแบบปิรามิด มีลานเป็นชั้นลดหลั่นกัน 8 ชั้น และใน 8 ชั้นนั้น 5 ชั้นล่างเป็นลาน 4 เหลี่ยม 3 ชั้น บนเป็นลานวงกลม และบนลานกลมชั้งสูงสุดมีพระสถูปตั้งสูงขึ้นไปอีก 31.5 เมตร เป็นมหาสถูปที่ระเบียงซ้อนกันเป็นชั้นๆลดหลั่นกันไป
     บุโรพุทโธ ได้รับการลงทะเบียนมรดกโลก ในปี พ.ศ. 2534

แหล่งข้อมูลและรูปภาพ
http://www.thaiwhic.go.th  ศูนย์ข้อมูลมรดกโลก
http://th.wikipedia.org
http://www.fotocoffees.com


 เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 30
การจัดการภัยพิบัติกับอา เซียน
disaster01
          ภาวะอุทกภัย พายุมรสุม พายุไต้ฝุ่น แผ่นดินไหว และภูเขาไฟระเบิด เป็นภัยพิบัติที่เกิดขึ้นเป็นประจำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงต่อประเทศที่ประสบภัยพิบัติ จึง ได้เกิดการลงนามในปฏิญญาอาเซียนและจัดตั้ง “คณะกรรมการจัดการพิบัติภัยอาเซียน (ASEAN Committee on Disaster Management - ACDM)” เมื่อ ต้นปี พ.ศ. 2546 ประกอบด้วยตัวแทนจากรัฐสมาชิกอาเซียนในระดับหัวหน้าหน่วยงานหรือองค์กรของ รัฐที่เกี่ยวข้องกับการจัดการพิบัติภัยต่างๆ ทั้งที่เกิดโดยธรรมชาติและที่เกิดโดยมนุษย์ มีหน้าที่รับผิดชอบประสานจัดการงานทุกอย่างที่เกี่ยวข้องในอาเซียนในเรื่อง การช่วยเหลือและฟื้นฟูเหตุวินาศภัยต่างๆที่เกิดขึ้นในภูมิภาค

          ซึ่งในปี พ.ศ. 2555 ประเทศไทยได้รับมอบตำแหน่งประธาน ACDM โดยมีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก
 แหล่งข้อมูล
: http://www.naewna.com/local/4302
: http://region4.prd.go.th/
กลับ ขึ้นด้านบน

เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 31
อาหารยอดนิยมในอาเซียน (6)
"หล่าเพ็ด" (Lahpet)
lahpet01
อาหารยอดนิยมของพม่า
       หล่าเพ็ด คือ ใบชาหมักทานกับเครื่องเคียง เช่น กระเทียมเจียว ถั่วชนิดต่างๆ งาคั่ว กุ้งแห้ง ขิง มะพร้าวคั่ว เป็นต้น จัดว่าเป็นอาหารว่างคล้ายกับยำเมี่ยงคำของไทย หล่าเพ็ดถือว่าเป็นอาหารที่ขาดไม่ได้ในโอกาสพิเศษหรือเทศกาลสำคัญๆ รวมทั้งงานเลี้ยงหรืองานเฉลิมฉลอง

แหล่งข้อมูล : จดหมายข่าว สมาคมอาเซียน
กลับขึ้น ด้านบน


เกร็ด ความรู้อาเซียน เรื่องที่ 32
สะพาน มิตรภาพไทย-ลาว : ประตูการค้าอาเซียน
thai-loas
         สะพาน มิตรภาพไทย-ลาว สะพานข้ามแม่น้ำโขงขนาดใหญ่แห่งแรก เป็นสะพานที่สร้างความสัมพันธ์ไทย-ลาว ให้กระชับแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งในปัจจุบันมีสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แล้ว 3 แห่ง คือ
        สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 1 (หนองคาย-เวียงจันทน์) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งแรก เชื่อมต่อเทศบาลหนองคายเข้ากับบ้านท่านาแล้ง นครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว เปิดใช้เมื่อปี 2537 
        สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) เชื่อมต่อจังหวัดมุกดาหารกับแขวงสะหวันนะเขต ประเทศลาว เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางเศรษฐกิจตะวันตกและตะวันออก เริ่มจากพม่า ไทย ลาว และสิ้นสุดที่เวียดนาม เปิดใช้เมื่อปี 2550 
        สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 3 (นครพนม-คำม่วน) เชื่อมต่อจังหวัดนครพนมกับแขวงคำม่วน ประเทศลาว เป็นสะพานที่เชื่อมต่อระหว่างไทย ลาว เวียดนามและภาคใต้ของจีน เปิดใช้เมื่อปี 2554

แหล่งข้อมูล : http://th.wikipedia.org    รูปภาพจาก www.google.com



เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 33
ภาษา อังกฤษกับอาเซียน
open-english-mission
          กฎบัตรอาเซียนข้อ 34 บัญญัติว่า “The working language of ASEAN shall be English” “ภาษา ที่ใช้ในการทำงานของอาเซียน คือ ภาษาอังกฤษ” ดังนั้นภาษาอังกฤษจึงเป็นเครื่องมืออันดับหนึ่งสำหรับพลเมืองอาเซียน ในการสื่อสารสร้างความสัมพันธ์สู่ภูมิภาคอาเซียน ภาษาอังกฤษจึงเป็น ภาษาที่สองของชาวอาเซียน เคียงคู่ภาษาที่หนึ่งอันเป็นภาษาประจำชาติของแต่ละคน
          ในปี พ.ศ. 2558 แรงงานมีฝีมือหรือมีทักษะและนักวิชาชีพทั้งหลายจะสามารถเดินทางข้ามประเทศใน ภูมิภาคอาเซียนไปหางานทำได้สะดวกมากขึ้นและจะทำได้โดยเสรี หมายความว่า คนจากประเทศอื่นในอาเซียนก็จะสามารถมา สมัครงาน หางานทำ หรือแย่งงานเราไปทำได้ เพราะมีคุณสมบัติตามมาตรฐานวิชาชีพอาเซียน ในเรื่องนี้เองที่ภาษาอังกฤษจะเป็นมาตรฐานกลางที่สำคัญอันจะนำไปสู่การเรียน การฝึกฝนอบรมในทักษะวิชาชีพต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ดังนั้นคนไทยทุกคนจึงจำจะต้องเรียนรู้และใช้ภาษาอังกฤษให้ได้และให้ดีไม่แพ้ ชาวชาติอื่นๆในอาเซียน หากทำได้อย่างน้อยก็จะเป็นการปกป้องโอกาสในการทำงานในประเทศไทยของเรามิให้ เพื่อนอาเซียนมาแย่งงานของเราไปได้ แต่หากเราไม่เก่งทั้งทักษะภาษาและทักษะวิชาชีพเราก็จะหางานทำในประเทศของเรา เองสู้คนชาติอื่นไม่ได้ ไม่ต้องพูดถึงเรื่องที่เราจะเข้าไปแข่งขันหางานทำในสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฯลฯ การมีทักษะวิชาชีพเสมอกันในคุณภาพแต่กลับความอ่อนด้อยในเรื่องภาษาอังกฤษก็ เป็นจุดอ่อนที่จะทำให้โอกาสการหางานทำในอาเซียนลดลง แม้จะหางานทำในประเทศไทยเองก็ตามก็จะยากมากขึ้น
          ถึงเวลาแล้วที่คนไทยจะต้องพัฒนาตนเองในการเรียนรู้ให้สามารถใช้ภาษาอังกฤษ เพื่อการดำเนินชีวิตที่สมบูรณ์ในประชาคมอาเซียน ณ วันนี้เป็นต้นไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น